“พิพิธภัณฑ์เปลือกหอยกรุงเทพฯ” เกิดขึ้นจากความรัก ความรอบรู้ และ ความเชี่ยวชาญในเปลือกหอยของ “คุณจอม : สมหวัง ปัทมคันธิน” สุดยอดแฟนพันธุ์แท้เปลือกหอย 2 สมัย (ปี 2007 และปี 2008) ผู้คว้ารางวัลคะแนนโหวตสูงสุดปี 2008 ทายาทของคุณสมนึก ปัทมคันธิน เจ้าของพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย ที่หาดราไวย์ จังหวัดภูเก็ต ภายในมีเปลือกหอยหายากหลากหลายชนิด


มาดูกันที่ชั้น 1 ที่ชั้นหนึ่งนี้ส่วนไฮไลต์จะอยู่ที่ ‘เปลือกหอยมือเสือยักษ์’ ซึ่ง เป็นหอยสองฝาชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งขนาดและน้ำหนัก โดยหอยมีเสือที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อาจมีน้ำหนักมากถึง 300 กิโลกรัม สำหรับเปลือกหอยมือเสือชิ้นที่อยู่ในส่วนจัดแสดงนี้ พบตามแนวปะการังน้ำตื้น ชายฝั่งเขตอินโด - แปซิฟิค
นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีวงศ์หอยมะเฟือง วงศ์หอยโข่งทะเล หอยโข่งบาง โข่งเปลือกบาง วงศ์หอยรังนก วงศ์หอยตีนช้าง หอยกระต่าย แต่ที่ฉันเห็นว่าน่ารักที่สุดก็คงเป็นสิ่งที่อยู่ในตู้กระจกตรงกลางที่จัดแสดงเม่นทะเล อย่างเม่นยักษ์อังกฤษได้จากประเทศแคนาดา เม่นม่วงจากภูเก็ต เม่นระเบิดหนามใหญ่จากภูเก็ต เม่นบอลจากภูเก็ต เม่นจิ๋วน้ำลึกจากเกาะไต้หวัน เม่นเหล่านี้หน้าตาน่ารัก ตัวกลมๆป้อมๆแถมมีสีสันสวยงาม โดยเฉพาะเม่นระเบิดหนามใหญ่นั้นมีลวดลายสวยอย่างกับวาดเอาเลยทีเดียว
ในส่วนของพื้นที่จัดแสดงชั้นที่ 2 นักท่องเที่ยวจะได้ตื่นตาไปกับ 'เปลือกหอย' รูป ร่างแปลกตามากมาย ไม่ว่าจะเป็น 'วงศ์หอยสังข์มงคล' 'หอยงวงช้าง' 'หอยหัวใจ' มีลักษณะโดดเด่นด้านรูปทรง ที่คล้ายรูปหัวใจ สีสันสวยงาม พบตามแอ่งน้ำระหว่างกอปะการังที่น้ำตื้น เค็มจัด มีความสะอาด 'หอยเพรียงเจาะหินยักษ์' เป็นหอยที่มีวิวัฒนาการปรับปรุงทรงเปลือก โดยสร้างปลอกหินปูนหนาและแข็งไว้ภายนอก
ขณะที่ลดขนาดและรูปทรงของฝาทั้งสองไว้ ที่ส่วนลึกสุดบริเวณส่วนต้นของท่อปลอก
สายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่นี้ พบจากเกาะพาลาวัน ทางทิศตะวันตกของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นต้น
มาถึงพื้นที่ส่วนสุดท้ายชั้นที่ 3 ซึ่งเมื่อขึ้นมาถึงด้านบน สิ่งแรกที่จะเห็นคือ
ภาพฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่ทรงประทานให้กับผู้แข่งขันที่ชนะเลิศเป็นสุดยอดแฟนพันธุ์แท้ ตอนเปลือกหอยพื้นที่ในส่วนจัดแสดงชั้นนี้ จะประกอบไปด้วย เปลือกหอยที่หายากอย่าง 'วงศ์หอยนมสาวน้ำลึก-หอยนมสาวปากร่อง' ซึ่ง เป็นหอยที่จัดอยู่ในอันดับต้นๆ ของความหายาก และความนิยมในหมู่นักสะสมรุ่นใหญ่ เนื่องจากหอยชนิดนี้ จะอาศัยอยู่ใต้ทะเลลึกตั้งแต่ระดับหลายร้อยเมตร ลงไปถึงพื้นมหาสมุทร มีจุดเด่นอยู่ตรงที่ช่องเปิดด้านข้างปากของเปลือก ที่คาดว่าอาจเป็นช่องระบายของเสีย รวมถึงใช้เป็นกลไกในการป้องกันตัว
'วงศ์หอยเต้าปูน' หอยขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายหอยเบี้ย แต่ได้รับความนิยมในหมู่นักสะสมมากกว่า
ปัจจุบันพบชนิดของหอยเต้าปูนแล้วกว่า 600 ชนิดทั่วโลก มีลวดลายและสีสันที่แตกต่างกันไป
นอกจากนี้ 'หอยเต้าปูน' ยัง นับว่าเป็นหอยชนิดหนึ่งที่มีพิษ ออกฤทธิ์โดยตรงต่อระบบประสาทของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่สำคัญหากใครได้สัมผัสเข้า ขอบอกเลยว่าในปัจจุบัน ยังไม่มียาที่จะรักษาพิษของหอยเต้าปูนได้ นอกจากนี้ยังมี วงศ์หอยสังข์หนาม วงศ์หอยสังข์ปีก วงศ์หอยเม็ดขนุน วงศ์หอยเบี้ย วงศ์หอยเจดีย์ และมุมจัดแสดงเปลือกหอยน้ำจืด อย่าง หอยขมหนามจากทะเลสาบแทนแทนยิกา หอยกาบปุ่ม หอยเรือบิน หอยกาบ หอยเดือยไก่ดำ และหอยกาบน้ำจืดยักษ์จากประเทศจีน ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเปลือกใหญ่ที่สุดในโลกอีกหนึ่งความแปลกตาที่ไม่เคยเห็นที่ไหนคือ หอยลูกกวาดคิวบา หรือหอยทากโพลีมิต้า
นับว่าเป็นหอยทากบกที่มีลวดลายและสีสันที่สดใสที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้
ชนพื้นเมืองในเกาะคิวบา นิยมเก็บไปทำสร้อยคอหรือเครื่องประดับ อีกทั้งยังถือเป็นมรดกแห่งชาติของคิวบาด้วย นอกจากนี้ ยังมีหอยทากพันธุ์อื่นๆ อย่าง หอยลุ หอยน้ำพริก หอยนกขมิ้น หอยทากยักษ์แอฟริกันและอเมริกาใต้ หอยทากต้นไม้ฟลอริด้า หอยทากทะเลทรายจากประเทศเปรู จัดแสดงไว้ให้ชมกันอีกด้วย
ไฮไลต์สุดท้ายบริเวณชั้น 3 นี้ คือ ซากฟอสซิสฝูงโกเนียไตต์ อายุประมาณ 350 ล้านปีก่อน
จากเทือกเขาแอตลาส เมืองไอบูเซอร์ ประเทศโมรอคโค แอฟริกาเหนือ ลักษณะเด่นอยู่ที่ห้องแบ่งภายในตัว
มีลักษณะเป็นลายซิกแซก และเพื่อให้เห็นลักษณะเด่นอย่างชัดเจน
ผู้เชี่ยวชาญชาวโมรอคโคจึงได้ทำการขัดแต่งพื้นผิวฟอสซิลแต่ละตัว เพื่อชักนำลวดลายให้ปรากฏเด่นชัดขึ้นมา
จากการที่ได้ไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์เปลือกหอยกรุงเทพฯ หัวมุมซอยสีสม 23 ได้เรียนรู้ชนิดของเปลือกหอยซึ่งมีมากมายหลายชนิดไปหมด ผมเองก็ได้แต่ดูความสวยงามของเปลือกหอย ดูความแปลกประหลาดของเปลือกหอย ทำให้รู้สึกสบายตา รู้สึกผ่อนคลาย เพลิดเพลินไปกับสีสันของเปลือกหอย และชื่อของเปลือกหอยบางชนิดอ่านยาก ผมคิดว่าน่าจะหาดูได้ยากเพราะเปลือกหอยบางชนิดมีแหล่งที่มาจากต่างประเทศ ดังนั้นจึงคุ้มกับการเสียเงิน 50 บาทในการเข้าชมครั้งนี้
"หอยหัวใจ"เป็นหอยที่ผมประทับใจเป็นพิเศษจากการที่ไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์เปลือกหอยแห่งนี้
แผนที่ประกอบกานเดินทาง

ขอบคุณภาพจาก www.google.co.th |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น